จำนวนผู้เข้าชม

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 25 มกราคม 2562
ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์ต่างๆมา เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมในชั้นเรียนร่วมกัน โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 4 คน

อุปกรณ์


1.กระดาษเทาขาว
2.กรรไกร
3.มีดคัตเตอร์

4.สีเมจิก
5.ดินสอ
6.แผ่นรองตัด
7.ไม้บรรทัด

ขั้นตอนการทำสื่อ



       ขั้นตอนที่ 1  นำกระดาษขาวเทามาตัดแบ่งครึ่งกัน ซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 แผ่น และแบ่งกับเพื่อนในกลุ่มคนละแผ่น


       ขั้นตอนที่   นำกระดาษที่ได้มาวัดขีดแบ่งช่องๆ  แนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 10 แถว วัดช่องละ 2*2 นิ้วทำทั้งหมด 2 ชุด

       ขั้นตอนที่ 3  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือ มาทำส่วนต่อไป กระดาษจะมีความยาว 6 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว และใช่สีเมจิกขีดครึ่งให้ได้ 2 ช่อง

   ขั้นตอนที่ 4  นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

        ขั้นตอนที่ 5  เขียน สิบ  หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

       ขั้นตอนที่ 6  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข  0-9 โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด


         ขั้นตอนที่ 7  นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว
มาวางไว้ที่ช่อง

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
         ได้ทำสื่อที่เกี่ยวกันคณิตศาสตร์ จากอุปกรณ์ที่หาง่ายหรือเรามีอยู่แล้วนำมาทำสื่อต่างๆ และสื่อที่ทำก็ไม่ยากสามารถทำได้ทุกคน และเราสามารถนำสื่อที่เราทำนำไปชาในการเรียนการสอนได้

    กิจกรรมที่ 2 


 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น  2 กลุ่มใหญ่ เพื่อที่จะให้นักศึกษาทำกิจกรรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ด้วยดินน้ำมัน ซึ่งได้กลุ่มละ 13 คน และ 14 คน


        อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้มาคนละ  1 ชนิด อะไรก็ได้ซึ่งแต่ละคนก็ปั่นเป็นรูปผลไม้ที่ตัวเองสนใจ ซึ้งหนูได้ปั้นเป็นสตอเบอรี่ และอาจารย์ก็ให้ปั้นขนาดเล็กเพื่อที่จะวางในช่องของกระดาษที่ทำทำไว้ก่อนหน้านี้

         เมื่อทุกคนปั้นเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละคนบอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้นและบอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผลไม้นั้น  อย่างเช่น  
Mangosteen            มังคุด                 
Custard   apple       น้อยหน่า               
Rose apple              ชมพู่                   
Tamarind                 มะขาม            
Durian                    ทุเรียน               
Apple                     แอปเปิ้ล   
Orange                    ส้ม                   
Watermelon            แตงโม                     
Banana                   กล้วย                
Grape                     องุ่น                
Strawberry             สตอเบอรี่      
 Mango                  มะม่วง
Cherry                   เชอร์รี่               
Pomelo                  ส้มโอ


         หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปหยิบสื่อที่เราทำเสร็จแล้วในกิจกรรมที่ 1 นำมากลุ่มละ 1 ชุด ได้นำมาวางไว้ตรงกลางเพื่อที่จะสามรถมองเห็นได้ทุกคนแล้วนำผลไม้ที่แต่ละคนได้ปั้นมาเรียงในช่องของสื่อได้ทั้งหมด  14 ผล ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อเราสอนคณิตศาสตร์เด็กจะได้อะไรบ้าง จะได้เรื่องรูปทรง  การนับจำนวน  การบอกจำนวน  แล้วเราสามรถนำตัวเลขมาวางไว้บนผลไม้เพื่อได้บอกจำนวนของผลไม้  
          อาจารย์ให้นำสื่อชุดที่  2  มาวางแล้วแบ่งผลไม้ออกเป็น กลุ่ม ซึ่งเราจะแบ่งได้นั้นต้องใช้เกณฑ์ในการแบ่ง  กลุ่มหนูใช้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม ได้กลุ่มละ  7 ผล  สามารถสอนในเรื่องของการบวกลบได้ เรายังไม่เหมาะสมกับการสอนเด็กปฐมวัยเพราะเป็นนามธรรม เราสามารถทำได้โดยการนำผลไม้หยิบออกครั้งละ  1  ผล  เมื่อเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากทราบว่าอันไหนมากกว่ากัน ใช้วิธีการหยิบออก 1 ต่อ 1 วิธีการวางคือเรียงจากซ้ายไปขวา




             เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม  ได้กลุ่มละ  1 ต่อ 13 ผล เพรากลุ่มหนูมีทุเรียนอย่างเดียวที่เป็นหนาม

            หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้วทุกคนก็ได้ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยแล้วมานั่งรวมกันเป็นครึ่งวงกลมเหมือนเดิมเพื่อที่จะพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่เราทำในวันนี้
           การใช้เกณฑ์ของหลักคณิตศาสตร์คือการนำมาเป็นตัวในการพิจารณาสำหรับเด็กไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ อย่างเช่น ผลไม้ที่มีสีเขียว เด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
                      กระบวนการของสมอง    👉     การรับรู้

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบายห้องเรียนสะอาดน่าเรียน

คำศัพท์
1.Rose apple              ชมพู่  
2. Molding clay        ปั้นดินน้ำมัน
3.Number                ตัวเลข
4.Round shape        รูปทรงกลม
5.Count                    จำนวนนับ
6.Assimilation        การดูดซึม
7.To calculate      คำนวณ
8.Width                ความกว้าง
9. Addition            การบวก
10. Subtraction       การลบ

การประเมิน

ประเมินตนเอง   วันนี้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆอย่างเต็มที่และทางานที่อาจารย์ให้ทำได้ทันเวลา
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง    เพื่อนๆแต่ละคนได้ตั้งใจทำสื่อของตัวเองทุกครและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์     อาจารย์ได้อธิบายและสอนวิธีการทำสื่ออย่างละเอียดและอธิบายซ้ำๆเมื่อเด็กไม่เข้าใจตรงใหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น